Skip to content

โปรแกรมการบริหารการซื้อ-ขายสินค้าและบริการ, ควบคุมสินค้าคงคลังขององค์กร (ERP)
มีระบบดังต่อไปนี้ :
- 1. ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง (IC)
- 2. ระบบใบสั่งซื้อและการรับสินค้า (PO)
- 3. ระบบใบสั่งขายและการเรียกเก็บเงิน (SO)
- 4. ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (GL)
- 5. ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (AP)
- 6. ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR)
1. ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง (IC) – ประโยชน์ที่ได้รับ :
- ธุรกิจการขาย การบริการ หรือ อุตสาหกรรมการผลิต ที่ใช้วัตถุดิบ, วัสดุ (ชิ้นส่วนประกอบ) หรือ การขายสินค้าเป็นจำนวนมากมักประสบกับปัญหาวัตถุดิบ, วัสดุ (ชิ้นส่วนประกอบ) หรือ สินค้าไม่เพียงพอ หรือ เกิดสูญหาย หรือ มีอยู่มากเกินความจำเป็นทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจำนวนมาก หรือ ไม่เพียงพอกับความต้องการในการผลิต หรือ การขายสินค้าเพื่อให้ทันกับความต้องการของลูกค้า หรือ การหมดอายุของสินค้า การเปรียบเทียบราคาด้าน ราคาซื้อ ราคาขาย เป็นต้น.
- ระบบนี้ช่วยขจัดปัญหาต่างๆให้หมดไป ทำให้ได้กำไรมากขึ้น สินค้ามีเพียงพอกับความต้องการของลูกค้า ลดสินค้าค้างสต็อก และสามารถช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของสินค้ารับเข้า-จ่ายออกในแง่มุมต่างๆ อย่างครบถ้วน.
2. ระบบใบสั่งซื้อและการรับสินค้า (PO) – ประโยชน์ที่ได้รับ :
- ธุรกิจการขาย การบริการ หรือ อุตสาหกรรมการผลิต ที่ใช้วัตถุดิบ, วัสดุ หรือขายสินค้าเป็นจำนวนมากมักประสบกับปัญหาการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือสินค้าไม่ทันหรือเพียงพอกับความต้องการ ในการผลิต หรือ ขายสินค้าเพื่อให้ทันกับความต้องการของลูกค้า หรือราคาซื้อที่แพงทำให้ต้นทุนสูง หรือสินค้าค้างรับ เป็นต้น.
- ระบบนี้จึงถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญที่ช่วยขจัดปัญหาต่างๆให้หมดไปทำให้ได้ต้นทุนที่ต่ำลง ได้กำไรมากขึ้น วัตถุดิบมีเพียงพอกับความต้องการในการผลิตสินค้า ทำให้สินค้ามีเพียงพอกับความต้องการของลูกค้าและสามารถช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของการสั่งซื้อ-รับสินค้าหรือวัตถุดิบในแง่มุมต่างๆ อย่างครบถ้วน เช่น มีผู้จำหน่ายรายใดบ้างเพื่อเปรียบเทียบราคา, สินค้าหรือวัตถุดิบค้างรับ, ราคาซื้อล่าสุดกับอดีตที่ผ่านมา, การรับสินค้าหรือวัตถุดิบ เป็นต้น.
3. ระบบใบสั่งขายและการเรียกเก็บเงิน (SO) – ประโยชน์ที่ได้รับ :
- ธุรกิจการขาย การบริการ หรือ อุตสาหกรรมการผลิต มีสินค้าเป็นจำนวนมากมักประสบกับปัญหาการส่งสินค้าไม่ทันกำหนดจากสั่งจองสินค้าในการขายหรือผลิตสินค้า ทำให้ขาดความเชื่อถือจากลูกค้า หรือราคาสินค้าที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามกลไกของเศรษฐกิจ หรือสินค้าค้างส่งทำให้ยอดขายลดลง เป็นต้น
- ระบบนี้จึงถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญที่ช่วยขจัดปัญหาต่างๆให้หมดไปทำให้ส่งสินค้าได้ทันตามกำหนด ปรับราคาขายได้ทันทีโดยปรับได้หลายวิธี ผลกำไรมากขึ้น สามารถตรวจสอบราคาขายก่อนทำการตกลงกับลูกค้า และ สามารถช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของการสั่งจอง-ส่ง-รับคืนสินค้าในแง่มุมต่างๆ อย่างครบถ้วน เช่น มีลูกค้ารายใดบ้างที่ทำการสั่งจองสินค้า, สินค้าค้างส่ง, ราคาขายล่าสุดกับอดีตที่ผ่านมา, การส่งสินค้า เป็นต้น.
4. ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (GL) – ประโยชน์ที่ได้รับ :
- ธุรกิจการขาย การบริการ หรือ อุตสาหกรรมการผลิต มีสินค้าเป็นจำนวนมากมักประสบกับปัญหาการส่งสินค้าไม่ทันกำหนดจากสั่งจองสินค้าในการขายหรือผลิตสินค้า ทำให้ขาดความเชื่อถือจากลูกค้า หรือราคาสินค้าที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามกลไกของเศรษฐกิจ หรือสินค้าค้างส่งทำให้ยอดขายลดลง เป็นต้น
- ระบบนี้จึงถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญที่ช่วยขจัดปัญหาต่างๆให้หมดไปทำให้ส่งสินค้าได้ทันตามกำหนด ปรับราคาขายได้ทันทีโดยปรับได้หลายวิธี ผลกำไรมากขึ้น สามารถตรวจสอบราคาขายก่อนทำการตกลงกับลูกค้า และ สามารถช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของการสั่งจอง-ส่ง-รับคืนสินค้าในแง่มุมต่างๆ อย่างครบถ้วน เช่น มีลูกค้ารายใดบ้างที่ทำการสั่งจองสินค้า, สินค้าค้างส่ง, ราคาขายล่าสุดกับอดีตที่ผ่านมา, การส่งสินค้า เป็นต้น.
5. ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (AP) – ประโยชน์ที่ได้รับ :
- ธุรกิจการขาย การบริการ หรือ อุตสาหกรรมการผลิต ส่วนมากจะมีบัญชีแยกประเภทจำนวนมาก และ สมุดรายวันหลายเล่ม มักประสบกับปัญหาการปิดงบไม่ทัน รายการบัญชีลงผิด จำนวนเงินผิด ตรวจสอบรายการบัญชีได้ช้า ทำให้การบริหารการเงินได้ไม่คล่องตัว
- ระบบนี้จึงถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญที่ช่วยขจัดปัญหาต่างๆให้หมดไปทำให้การบริหารเตรียมการจ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพสูง คล่องตัว รวดเร็ว และ สามารถช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในธุรกิจของเจ้าหนี้แต่ละรายในแง่มุมต่างๆ เช่น ระยะเวลาที่เป็นหนี้ การครบกำหนดชำระหนี้ รวมไปถึงเงื่อนไขต่างๆ ของเจ้าหนี้, การชำระเงิน, การเพิ่มหนี้ และ การลดหนี้ เป็นต้น.
6. ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR) – ประโยชน์ที่ได้รับ :
- ธุรกิจการขาย การบริการ หรือ อุตสาหกรรมการผลิต ส่วนมากมักจะมีลูกหนี้จำนวนมาก มักประสบกับปัญหาการเตรียมติดตามเร่งรัดหนี้สินและรับชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ซึ่งทำให้ขาดเงินหมุนเวียนธุรกิจ การตรวจสอบในการที่จะปล่อยเครดิตให้กับลูกค้า หรือให้ส่วนลดกับลูกค้า.
- ระบบนี้จึงถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญที่ช่วยขจัดปัญหาต่างๆให้หมดไปทำให้การบริหารการเตรียมติดตามเร่งรัดหนี้สินและรับชำระเงินให้มีประสิทธิภาพสูง คล่องตัว รวดเร็ว และ สามารถช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในธุรกิจของลูกหนี้แต่ละรายในแง่มุมต่างๆ เช่น ระยะเวลาที่เป็นหนี้ การครบกำหนดรับชำระหนี้ รวมไปถึงเงื่อนไขต่างๆ ของลูกหนี้, การรับชำระเงิน, การเพิ่มหนี้ และ การลดหนี้ เป็นต้น.

1. ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง (IC)
1.1 ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง (IC) – คุณสมบัติ :
- การคิดต้นทุนสินค้าสามารถกำหนดได้ว่าจะใช้แบบไหนมีแบบ Average(ถัวเฉลี่ย), FIFO(เข้าก่อน-ออกก่อน), LIFO(เข้าหลัง-ออกก่อน)
- กำหนดรหัสสินค้าต่างๆได้ไม่จำกัด เช่น 10001, 20001, 30001
- กำหนดกลุ่มสินค้าต่างๆได้หลายกลุ่มไม่จำกัด เช่น กลุ่มA, กลุ่มB, กลุ่มC
- กำหนดคลังสินค้าต่างๆได้หลายคลังไม่จำกัด เช่น คลังA, คลังB, คลังC
- กำหนดประเภทสินค้าได้ เช่น สินค้าสำเร็จรูป, วัตถุดิบ, วัสดุสิ้นเปลือง, สินค้าประกอบ, ค่าจ้างทำของ
- กำหนดจุดต้องสั่งซื้อสินค้าเข้ามาให้เพียงพอกับการขาย
- กำหนดจุดที่สินค้ามีอยู่มากเกินกำหนด
- บันทึกการรับ สินค้าสำเร็จรูป, วัตถุดิบ, วัสดุสิ้นเปลือง, สินค้าประกอบ, ค่าจ้างทำของ ประจำวัน
- บันทึกการจ่าย สินค้าสำเร็จรูป, วัตถุดิบ, วัสดุสิ้นเปลือง, สินค้าประกอบ, ค่าจ้างทำของ ประจำวัน
- เก็บประวัติสินค้าหรือวัตถุดิบแต่ละรายการที่รับเข้าจากคลัง, ราคาซื้อ, ผู้จำหน่ายที่ซื้อมา
- เก็บประวัติสินค้าหรือวัตถุดิบแต่ละรายการที่จ่ายออกจากคลัง, ราคาขาย, ลูกค้าที่ขายไป
- วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของการรับเข้า ของสินค้าหรือวัตถุดิบ
- วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของการจ่ายออก ของสินค้าหรือวัตถุดิบ
- วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของการรับเข้า-จ่ายออก ของสินค้าหรือวัตถุดิบ
- วิเคราะห์สินค้าในแง่มุมต่างๆ เช่น ต้นทุนสินค้าที่แท้จริง, ต้นทุนล่าสุด, จุดที่ต้องสั่งซื้อ, จุดมากเกิน, สถานที่เก็บ, ประวัติสินค้า, การรับ-จ่ายสินค้า
- วิเคราะห์อื่นๆอีก
- สามารถเชื่อมโยงกับระบบบัญชีแยกประเภทได้อย่างอัตโนมัติ
1.2 ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง (IC) – หน้าจอ :
- 1. ยอดยกมาสินค้า – Carry In
- 2. ปรับราคาขายสินค้า – Adjust Sale Prices
- 3. รหัสคลังสินค้า – Store Code
- 4. รหัสกลุ่มสินค้า – Group Of Product Code
- 5. รหัสสินค้า – Product Code
- 6. รหัสแผนก – Department Code
- 7. รายละเอียดบริษัท – Company Profile
- 8. เซ็ตวันที่ใช้ป้อนข้อมูล – Set Date For Input Data
1.3 ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง (IC) – รายงาน :
- 1. สินค้ายกมา – CARRY IN
- 2. สรุปยอดสินค้ายกมา – CARRY IN SUMMARY
- 3. สินค้าที่มีอยู่ในครอบครอง – STOCK OF HOLD
- 4. สินค้าคงเหลือ – STOCK OF BALANCE
- 5. รหัสสินค้า – PRODUCT CODE
- 6. รายละเอียดสินค้า(สต๊อกการ์ด) – STOCK CARD
- 7. สินค้าที่ถึงจุดสั่งซื้อ – STOCK OF MINIMIZE
- 8. สินค้าที่มีอยู่มากเกิน – STOCK OF MAXIMUM
- 9. การเคลื่อนไหวสินค้าด้านขอซื้อ – STOCK MOVEMENT OF PURCHASE REQUIRE
- 10. การเคลื่อนไหวสินค้าด้านสั่งซื้อ – STOCK MOVEMENT OF PURCHASE ORDER
- 11. การเคลื่อนไหวสินค้าด้านซื้อ – STOCK MOVEMENT OF PURCHASE
- 12. การเคลื่อนไหวสินค้าด้านส่งคืน – STOCK MOVEMENT OF EJECT
- 13. การเคลื่อนไหวสินค้าด้านรับจากผลิต – STOCK MOVEMENT OF RECEIVE FORM PRODUCTION
- 14. การเคลื่อนไหวสินค้าด้านเสนอราคา – STOCK MOVEMENT OF QUATATION
- 15. การเคลื่อนไหวสินค้าด้านรับจอง – STOCK MOVEMENT OF CUSTOMER ORDER
- 16. การเคลื่อนไหวสินค้าด้านขาย – STOCK MOVEMENT OF SALES
- 17. การเคลื่อนไหวสินค้าด้านรับคืน – STOCK MOVEMENT OF RETURN
- 18. การเคลื่อนไหวสินค้าด้านส่งเข้าผลิต – STOCK MOVEMENT OF ISSUE TO PRODUCTION
- 19. เปรียบเทียบราคามาตรฐานของสินค้าด้านการซื้อ – COMPARE STANDARD STOCK PRICE OF PURCHASES
- 20. สินค้าค้างรับ – PENDING STOCK OF RECEIVE
- 21. สินค้าค้างส่ง – PENDING STOCK OF DELIVERY
- 22. สินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหว – STOCK OF NOT MOVEMENT

2. ระบบใบสั่งซื้อและการรับสินค้า (PO)
2.1 ระบบใบสั่งซื้อและการรับสินค้า (PO) – คุณสมบัติ :
- กำหนดรหัสผู้จำหน่ายต่างๆได้ไม่จำกัด เช่น AP-00001, AP-00002, AP-00003
- สร้างผังบัญชีเจ้าหนี้รายตัวให้อัตโนมัติเพื่อเชื่อมต่อกับบัญชีแยกประเภท
- กำหนดกลุ่มผู้จำหน่ายต่างๆได้หลายกลุ่มไม่จำกัด เช่น กลุ่มA, กลุ่มB, กลุ่มC
- กำหนดเขตการซื้อต่างๆได้หลายเขตไม่จำกัด เช่น เขตA, เขตB, เขตC
- กำหนดสูตรต่างๆได้ เช่น ใบสั่งซื้อ, ใบรับสินค้า
- บันทึกการขอซื้อ สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ ประจำวัน
- บันทึกการสั่งซื้อ สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ ประจำวัน
- บันทึกการรับ สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ ประจำวัน
- บันทึกการส่งคืน สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ ประจำวัน
- เก็บประวัติสินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของแต่ละรายการที่รับเข้าคลัง, ค่าใช้จ่าย และประวัติผู้จำหน่าย
- วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของการขอซื้อ สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ
- วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของการสั่งซื้อ สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ
- วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของการรับ สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ
- วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของการส่งคืน สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ
- วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของสินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ ค้างรับ
- วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวราคาซื้อล่าสุดกับอดีตที่ผ่านมา
- วิเคราะห์ว่ามีผู้จำหน่ายรายใดบ้างที่จำหน่ายสินค้าชนิดเดียวกันเพื่อเปรียบเทียบราคา
- วิเคราะห์อื่นๆอีก
- สามารถเชื่อมโยงกับระบบบัญชีแยกประเภทได้อย่างอัตโนมัติ
2.2 ระบบใบสั่งซื้อและการรับสินค้า (PO) – หน้าจอ :
- 1. ใบขอซื้อสินค้า – Purchase Require
- 2. ใบสั่งซื้อสินค้า – Purchase Order
- 3. ใบรับสินค้า – Receive
- 4. ใบส่งคืนสินค้า – Eject
- 5. รหัสคลังสินค้า – Store Code
- 6. รหัสสินค้า – Product Code
- 7. รหัสแผนก – Department Code
- 8. รหัสผู้จำหน่าย/เจ้าหนี้ – A/P && Vendor Code
- 9. รหัสหัวบิล – Heading Bill Code
- 10. ข้อความท้ายบิล – Footing Text Bill
- 11. เซ็ตวันที่ใช้ป้อนข้อมูล – Set Date For Input Data
2.3 ระบบใบสั่งซื้อและการรับสินค้า (PO) – รายงาน :
- 1. ขอซื้อ – PURCHASE REQUIRE
- 2. สั่งซื้อ – PURCHASE ORDER
- 3. ซื้อ – PURCHASE
- 4. ส่งคืน – EJECT
- 5. สรุปยอดขอซื้อ – PURCHASE REQUIRE SUMMARY
- 6. สรุปยอดสั่งซื้อ – PURCHASE ORDER SUMMARY
- 7. สรุปยอดซื้อ – PURCHASE SUMMARY
- 8. สรุปยอดส่งคืน – EJECT SUMMARY
- 9. ใบสั่งซื้อสินค้าค้างรับ – PURCHASE ORDER PENDING RECEIVE
- 10. ภาษีซื้อ – BUY VAT
- 11. พิมพ์ ใบขอซื้อสินค้า – PURCHASE REQUIRE BILL
- 12. พิมพ์ ใบสั่งซื้อสินค้า – PURCHASE ORDER BILL
- 13. พิมพ์ ใบรับสินค้า – RECEIVE BILL
- 14. พิมพ์ ใบส่งคืนสินค้า – EJECT BILL
- 15. พิมพ์ ใบสำคัญจ่าย (สด) – CASH PAYMENT BILL

3. ระบบใบสั่งขายและการเรียกเก็บเงิน (SO)
3.1 ระบบใบสั่งขายและการเรียกเก็บเงิน (SO) – คุณสมบัติ :
- กำหนดรหัสผู้ลูกค้าต่างๆได้ไม่จำกัด เช่น AR-00001, AR-00002, AR-00003
- สร้างผังบัญชีลูกหนี้รายตัวให้อัตโนมัติเพื่อเชื่อมต่อกับบัญชีแยกประเภท
- กำหนดกลุ่มลูกค้าต่างๆได้หลายกลุ่มไม่จำกัด เช่น กลุ่มA, กลุ่มB, กลุ่มC
- กำหนดเขตการขายต่างๆได้หลายเขตไม่จำกัด เช่น เขตA, เขตB, เขตC
- กำหนดสูตรต่างๆได้ เช่น ใบสั่งจองสินค้า, ใบส่งสินค้า
- บันทึกการเสนอราคา สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ ประจำวัน
- บันทึกการรับจอง สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ ประจำวัน
- บันทึกการส่ง สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ ประจำวัน
- บันทึกการรับคืน สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ ประจำวัน
- เก็บประวัติสินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของแต่ละรายการที่จ่ายออกจากคลัง, รายได้ และประวัติลูกค้า
- วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของการเสนอราคา สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ
- วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของการรับจอง สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ
- วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของการส่ง สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ
- วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของการรับคืน สินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ
- วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของสินค้า, วัตถุดิบ, วัสดุ, ค่าจ้างทำของ ค้างส่ง
- วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวราคาขายล่าสุดกับอดีตที่ผ่านมา
- วิเคราะห์ว่ามีลูกค้ารายใดบ้างที่ขายสินค้าให้ชนิดเดียวกันเพื่อเปรียบเทียบราคา
- วิเคราะห์อื่นๆอีก
- สามารถเชื่อมโยงกับระบบบัญชีแยกประเภทได้อย่างอัตโนมัติ
3.2 ระบบใบสั่งขายและการเรียกเก็บเงิน (SO) – หน้าจอ :
- 1. ใบเสนอราคา – Quotation
- 2. ใบรับจองสินค้า – Customer Order
- 3. ใบส่งสินค้า – Delivery
- 4. ใบรับคืนสินค้า – Return
- 5. รหัสคลังสินค้า – Store Code
- 6. รหัสกลุ่มสินค้า – Group Of Product Code
- 7. รหัสสินค้า – Product Code
- 8. รหัสแผนก – Department Code
- 9. ปรับราคาขายสินค้า – Adjust Sale Prices
- 10. รหัสหัวบิล – Heading Bill Code
- 11. ข้อความท้ายบิล – Footing Text Bill
- 12. เซ็ตวันที่ใช้ป้อนข้อมูล – Set Date For Input Data
3.3 ระบบใบสั่งขายและการเรียกเก็บเงิน (SO) – รายงาน :
- 1. เสนอราคา – QUATATION
- 2. รับจอง – CUSTOMER ORDER
- 3. ขาย – SALES
- 4. รับคืน – RETURN
- 5. สรุปยอดเสนอราคา – QUATATION SUMMARY
- 6. สรุปยอดรับจอง – CUSTOMER ORDER SUMMARY
- 7. สรุปยอดขาย – SALES SUMMARY
- 8. สรุปยอดรับคืน – RETURN SUMMARY
- 9. ใบรับจองสินค้าค้างส่ง – CUSTOMER ORDER PENDING DELIVERY
- 10. ภาษีขาย – SALES VAT
- 11. พิมพ์ ใบเสนอราคาสินค้า – QUATATION BILL
- 12. พิมพ์ ใบรับจองสินค้า – CUSTOMER ORDER BILL
- 13. พิมพ์ ใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี – DELIVERY / TAX INVOICE BILL
- 14. พิมพ์ ใบรับคืนสินค้า – RETURN BILL
- 15. พิมพ์ ใบสำคัญจ่าย(สด) – CASH RECEIPT BILL

4. ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (GL)
4.1 ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (GL) – คุณสมบัติ :
- กำหนดสมุดรายวันเฉพาะได้ โดยไม่จำกัดจำนวนเล่ม
- ตรวจสอบยอดได้ทั้งบัญชีรายละเอียด และ สรุป
- จัดเตรียมผังบัญชีไว้ให้แล้วสามารถปรับแต่งหรือสร้างผังบัญชีใหม่เข้าไปได้
- จัดผังบัญชีโดยแยกตามแผนกได้ (โดยการสร้างหรือนำผังบัญชีมาตรฐานมาใช้)
- สามารถกำหนดบัญชีตัวไหนก็ได้ที่จะแสดงในงบการเงินต่างๆ
- บันทึกรายการบัญชีทำได้ทั้งในสมุดรายวันทั่วไปหรือสมุดรายวันเฉพาะ
- ปรับปรุงบัญชีต่างๆได้สะดวกและรวดเร็ว โดยตรวจสอบงบต่างๆจากกระดาษทำการได้
- ลงรายการบัญชีได้ไม่จำกัดจำนวน
- ป้องกันการลงบัญชีผิดพลาดทางด้านเดบิตและเครดิต โดยโปรแกรมจะทำการตรวจสอบยอดก่อนทุกครั้งก่อนทำการบันทึกข้อมูล
- ประหยัดเวลาในการลงบัญชีโดยโปรแกรมจะผ่านคำนวณและผ่านรายการบัญชีรายละเอียดไปยังบัญชีสรุปให้โดยอัตโนมัติ ทำให้ได้ข้อมูลตัวเลขทางการเงินถูกต้อง และ รวดเร็ว
- รูปแบบรายงานของงบต่างๆได้จัดเตรียมเอาไว้ให้หมดแล้วไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างใหม่ สามารถกำหนดและปรับเปลี่ยนตำแหน่งที่จะพิมพ์ได้
- พิมพ์รายงานงบทดลอง, งบการเงินต่างๆ, กระดาษทำการ, สมุดรายวันต่างๆ, บัญชีแยกประเภท, รายการเคลื่อนไหวต่างๆ ทั้งทางหน้าจอหรือเครื่องพิมพ์ก็ได้
- พิมพ์งบการเงินได้เลยโดยไม่ต้องการปิดบัญชีใดๆเพราะโปรแกรมทำงานแบบReal-Time ข้อมูลทุกอย่างจะLink หรือเชื่อมโยงกันโดยอัตโนมัติ เพื่อลดขั้นตอนการลงบัญชีซ้ำซ้อนหลายๆครั้ง เช่น งบดุล, งบทดลอง, งบกำไรขาดทุน, งบต้นทุนขาย, งบต้นทุนผลิต, งบต้นทุนขาย, งบต้นทุนการบริการ และ งบการเงินต่างๆ
4.2 ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (GL) – หน้าจอ :
- 1. สมุดรายวัน – Journal
- 2. สมุดรายวัน(ปรับปรุง) – Journal (Adjust)
- 3. รหัสสมุดรายวัน – Journal Code
- 4. รหัสผังบัญชี – Chart Of Account
- 5. สมุดรายวันหลักของระบบ – Main Journal Of System
- 6. บัญชีหลักของระบบ – Main Account Of System
- 7. รหัสธนาคาร – Bank Code
- 8. รหัสแผนก – Department Code
- 9. เซ็ตวันที่ใช้ป้อนข้อมูล – Set Date For Input Data
- 10. รายละเอียดบริษัท – Company Profile
4.3 ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (GL) – รายงาน :
- 1. สมุดรายวัน – JOURNAL
- 2. สมุดเงินสด – JOURNAL (CASH)
- 3. ผังบัญชี – CHART OF ACCOUNTS
- 4. บัญชีแยกประเภท(ย่อย) – GENERAL LEDGER (DETAIL)
- 5. บัญชีแยกประเภท(คุมยอด) – GENERAL LEDGER (SUMMARY)
- 6. ภาษีมูลค่าเพิ่ม – VAT
- 7. ภาษีซื้อ – BUY VAT
- 8. ภาษีขาย – SALES VAT
- 9. งบทดลอง (รายละเอียด) – TRIAL BALANCE (DETAIL)
- 10. งบทดลอง (สรุป) – TRIAL BALANCE (SUMMARY)
- 11. กระดาษทำการ – WORKSHEET
- 12. กระดาษทำการ (แสดงต้นทุนขาย) – WORKSHEET (COST OF SALES)
- 13. งบต้นทุนขาย – COST OF SALES STATEMENT
- 14. งบดุล – BALANCE SHEET
- 15. งบดุล (เปรียบเทียบ) – BALANCE SHEET (COMPARE)
- 16. งบกำไรขาดทุนและงบกำไรสะสม – PROFIT LOST AND EARNING & REVENUE STATEMENT
- 17. งบกำไรขาดทุน – PROFIT LOST STATEMENT
- 18. งบกำไรขาดทุน (เปรียบเทียบ) – PROFIT LOST STATEMENT (COMPARE)
- 19. ค่าใช้จ่ายในการขาย/บริหาร – EXPANSE OF SALES
- 20. ค่าใช้จ่ายในการขาย/บริหาร (สิ้นปี) – EXPANSE OF SALES (YEAR END)
- 21. ประเภทบัญชี – ACCOUNT TYPE

5. ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (AP)
5.1 ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (AP) – คุณสมบัติ :
- กำหนดกลุ่มเจ้าหนี้ต่างๆได้ไม่จำกัด เช่น กลุ่มเจ้าหนี้
- บันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการซื้อสินค้า หรือ บริการ ประจำวัน
- การบันทึกการชำระหนี้ในรูปแบบ เงินสด, เช็คธนาคาร, โอนเงิน, บัตรเครดิต
- การบันทึกเงื่อนไขต่างๆ เช่น ส่วนลดรับ, ดอกเบี้ยจ่าย, ค่าธรรมเนียมธนาคาร, กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน, ภาษีหัก ณ.ที่จ่ายที่หักเอาไว้, ค่าใช้จ่ายในการปัดเศษเงิน
- สามารถทราบถึงเจ้าหนี้ของธุรกิจว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใดรวมไปถึงเงื่อนไขต่างๆ ของเจ้าหนี้
- สามารถทราบถึงระยะเวลาในการครบกำหนดจ่ายชำระหนี้ให้เจ้าหนี้แต่ละรายโดยละเอียด
- สามารถทำการลดหนี้ สำหรับเจ้าหนี้แต่ละรายได้อย่างง่ายดายและเป็นระบบ
- สามารถเก็บประวัติของการจ่ายชำระหนี้เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการบริหารงานด้านเจ้าหนี้ได้
- สามารถเชื่อมโยงกับระบบบัญชีแยกประเภทได้อย่างอัตโนมัติ
- วิเคราะห์อายุเจ้าหนี้แต่ละราย (แบบละเอียด / สรุป)
- วิเคราะห์สถานะเจ้าหนี้แต่ละราย
- วิเคราะห์บัญชีเจ้าหนี้แต่ละราย
- วิเคราะห์เจ้าหนี้ค้างชำระแต่ละราย (แบบละเอียด / สรุป)
- วิเคราะห์การจ่ายชำระเงินของเจ้าหนี้แต่ละราย
- วิเคราะห์อื่นๆอีก
- สามารถเชื่อมโยงกับระบบบัญชีแยกประเภทได้อย่างอัตโนมัติ
5.2 ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (AP) – หน้าจอ :
- 1. ใบรับวางบิล – Payment Due
- 2. ใบรับชำระเงิน – Payment
- 3. รหัสผังบัญชีเจ้าหนี้ – Chart Of Account (A/P)
- 4. รหัสผู้จำหน่าย/เจ้าหนี้ – A/P & Vendor Code
- 5. เซ็ตวันที่ใช้ป้อนข้อมูล – Set Date For Input Data
- 6. รหัสธนาคาร – Bank Code
- 7. รหัสแผนก – Department Code
5.3 ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (AP) – รายงาน :
- 1. ผังบัญชีเจ้าหนี้ – CHART OF ACCOUNT PAYABLE
- 2. รายละเอียดเจ้าหนี้ – A/P DETAIL
- 3. บัญชีเจ้าหนี้ – A/P ACCOUNTS
- 4. การจ่ายชำระเงิน – PAYMENT TO A/P
- 5. การ์ดเจ้าหนี้ – A/P CARD
- 6. เจ้าหนี้ค้างชำระ – A/P OUTSTANDING
- 7. สรุปเจ้าหนี้ค้างชำระ – A/P OUTSTANDING (SUMMARY)
- 8. วิเคราะห์อายุเจ้าหนี้ – A/P AGING
- 9. สรุปวิเคราะห์อายุเจ้าหนี้ – A/P AGING (SUMMARY)
- 10. สถานะเจ้าหนี้ – A/P STATUS
- 11. ใบรับสินค้าที่ถึงกำหนดชำระ – A/P INVOICE DUE
- 12. ใบนัดรับวางบิลที่ถึงกำหนดชำระ – A/P STATEMENT DUE
- 13. พิมพ์ ใบรับวางบิล – PAYMENT DUE BILL
- 14. พิมพ์ ใบสำคัญจ่าย(เชื่อ) – CREDIT PAYMENT BILL
- 15. พิมพ์ ใบลดหนี้ /ส่งคืนสินค้า – DEBIT NOTE / EJECT BILL

6. ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR)
6.1 ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR) – คุณสมบัติ :
- กำหนดกลุ่มลูกหนี้ต่างๆได้ไม่จำกัด เช่น กลุ่มลูกหนี้
- บันทึกรายได้ที่เกิดจากการขายสินค้า หรือ บริการ ประจำวัน
- การบันทึกการรับชำระหนี้ในรูปแบบ เงินสด, เช็คธนาคาร, โอนเงิน, บัตรเครดิต
- การบันทึกเงื่อนไขต่างๆ เช่น ส่วนลดจ่าย, ดอกเบี้ยรับ, ค่าธรรมเนียมธนาคาร, กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน, ภาษีหัก ณ.ที่จ่าย ที่ถูกหัก, ค่าใช้จ่ายในการปัดเศษเงิน
- สามารถทราบถึงลูกหนี้ของธุรกิจว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใดรวมไปถึงเงื่อนไขต่างๆ ของลูกหนี้
- สามารถทราบถึงระยะเวลาในการครบกำหนดรับชำระหนี้ให้ลูกหนี้แต่ละรายโดยละเอียด
- สามารถทำการลดหนี้ การเพิ่มหนี้ สำหรับลูกหนี้แต่ละรายได้อย่างง่ายดายและเป็นระบบ
- สามารถเก็บประวัติของการรับชำระหนี้เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการบริหารงานด้านลูกหนี้ได้ต่อไป
- สามารถเชื่อมโยงกับระบบบัญชีแยกประเภทได้อย่างอัตโนมัติ
- วิเคราะห์อายุลูกหนี้แต่ละราย (แบบละเอียด / สรุป)
- วิเคราะห์สถานะลูกหนี้แต่ละราย
- วิเคราะห์บัญชีลูกหนี้แต่ละราย
- วิเคราะห์ลูกหนี้ค้างชำระแต่ละราย (แบบละเอียด / สรุป)
- วิเคราะห์การรับชำระเงินของลูกหนี้แต่ละราย
- วิเคราะห์อื่นๆอีก
- สามารถเชื่อมโยงกับระบบบัญชีแยกประเภทได้อย่างอัตโนมัติ
6.2 ACCOUNTS RECEIVABLE (AR) – หน้าจอ:
- 1. ใบวางบิล – Receipt Due
- 2. ใบรับชำระเงิน – Receipt
- 3. รหัสผังบัญชีลูกหนี้ – Chart Of Account (A/R)
- 4. รหัสลูกค้า/ลูกหนี้ – A/R & Customer Code
- 5. เซ็ตวันที่ใช้ป้อนข้อมูล – Set Date For Input Data
- 6. รหัสธนาคาร – Bank Code
- 7. รหัสแผนก – Department Code
6.3 ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR) – รายงาน :
- 11. ผังบัญชีลูกหนี้ – CHART OF ACCOUNT RECEIVABLE
- 2. รายละเอียดลูกหนี้ – A/R DETAIL
- 3. บัญชีลูกหนี้ – A/R ACCOUNTS
- 4. การรับชำระเงิน – RECEIPT FROM A/R
- 5. การ์ดลูกหนี้ – A/R CARD
- 6. ลูกหนี้ค้างชำระ – A/R OUTSTANDING
- 7. สรุปลูกหนี้ค้างชำระ – A/R OUTSTANDING (SUMMARY)
- 8. วิเคราะห์อายุลูกหนี้ – A/R AGING
- 9. สรุปวิเคราะห์อายุลูกหนี้ – A/R AGING (SUMMARY)
- 10. สถานะลูกหนี้ – A/R STATUS
- 11. ใบส่งสินค้าที่ถึงกำหนดชำระ – A/R INVOICE DUE
- 12. ใบวางบิลที่ถึงกำหนดชำระ – A/R STATEMENT DUE
- 13. พิมพ์ ใบวางบิล – RECEIPT DUE BILL
- 14. พิมพ์ ใบสำคัญรับ(เชื่อ) – CREDIT RECEIPT BILL
- 15. พิมพ์ ใบลดหนี้ /รับคืนสินค้า – DEBIT NOTE / RETURN BILL